วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โครงการพัฒนาการผลิตผักคุณภาพ มช.

โครงการพัฒนาการผลิตผักคุณภาพ มช.
ผักออแกนิกปลอดสารพิษสร้างชีวิตเสริมรายได้ โครงการพัฒนาการผลิตผักคุณภาพ จาก มช.
(ผักออแกนิก ผักออร์แกนิก ผักปลอดสารพิษ)

“โครงการ พัฒนาการผลิตผักออแกนิกคุณภาพ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกผักออแกนิกปลอดสารพิษในโรงเรือนตาข่ายกันแมลง” ผลงานวิจัยเด่นประจำปี 2550 กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ดำเนินการวิจัยโดย รศ.ดร.จริยา วิสิทธิ์พานิช และ รศ.ดร.ชาตรี สิทธิกุล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะ

รศ.ดร.จริยา วิสิทธิ์พานิช นักวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า “โครงการพัฒนาการผลิตผักคุณภาพ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรือนตาข่ายกันแมลง” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นโครงการที่ทำร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวงตั้งแต่ปี 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการผลิตผักคุณภาพและปลอดสารพิษในโรงเรือน ตาข่ายกันแมลง โดยการผสมผสานเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน นำมาปรับใช้ในสภาพโรงเรือน โดยนำผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเข้าไปช่วยสนับสนุนและถ่ายทอดองค์ความรู้ระบบ การจัดการ เทคโนโลยีการปลูกผัก การให้ปุ๋ยระบบน้ำหยด และการจัดการกับแมลงศัตรูพืชที่ถูกต้องให้กับเกษตรกร ซึ่งทางโครงการวิจัยฯ และมูลนิธิโครงการหลวงเป็นผู้สร้างโรงเรือนตาข่ายกันแมลงสำหรับเพาะปลูกผักออแกนิก บนพื้นที่สูง

สำหรับการดำเนินการของโครงการเริ่มต้นทดลองโดยใช้พื้นที่ของโครงการหลวง 1 แห่ง คือบ้านแม่โถ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ จากนั้นเกษตรกรนำร่องที่ได้รับการคัดเลือกเหล่านี้จะนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ แก่เกษตรกรรายใหม่ในพื้นที่อื่นๆ โครงการระยะที่ 2 ได้ขยายงานไปบนพื้นที่สูง คือบ้านอมพาย อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน และพื้นที่ราบที่ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โดยมีการจัดทำหลังคาพลาสติกโค้งคลุมแปลงผัก เพื่อป้องกันแรงกระแทกจากฝน ทำให้สามารถปลูกผักได้ในช่วงฤดูฝน รวมทั้งเปลี่ยนวิธีการหว่านเมล็ดในแปลงมาเป็นการเพาะเมล็ดในกระบะเพาะแล้ว ย้ายปลูก ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีกว่าของเดิม

การผลิตผักปลอดภัยนี้ เป็นการนำเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยหลายชุดในโครงการภายใต้การสนับสนุนของสำนัก งานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มาใช้ในการผลิตพืช และประสานงานฝ่ายการตลาดของมูลนิธิโครงการหลวงที่รับซื้อผักปลอดสารพิษเพื่อ ให้ได้ข้อมูลปริมาณผลผลิตและข้อมูลการจัดการการตลาด เพื่อเลือกชนิดของพืช ที่ตลาดต้องการในแต่ละฤดูกาล แล้วทำการผลิตผักที่เหมาะสมในแต่ละช่วงฤดูการผลิต หลังจากนั้นจัดให้มีการอบรมเผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกร และเจ้าหน้าที่ส่งเสริม และการปฏิบัติในแปลงปลูกเป็นขั้นตอน โดยเทคโนโลยีที่ได้นำไปถ่ายทอด ประกอบด้วย การจัดการดินและปุ๋ย โดยอาศัยการวิเคราะห์ดินเพื่อตรวจสอบสภาพดินและการเลือกปุ๋ยให้ตรงกับความ ต้องการของพืช การทำปุ๋ยหมัก การให้ปุ๋ยระบบน้ำ (Fertigation) โดยอาศัยเครื่องวัดความเครียดของน้ำในดิน (Tensiometer) รวมทั้งการจัดการศัตรูพืชที่เน้นวิธีการผสมผสาน และการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงแมลงวัน ตัวห้ำ ซีโนเซียในกระบะเพาะ เพื่อควบคุมหนอนชอนใบและแมลงหวี่ขาวที่เข้ามาทำลายพืชผักทำให้ลดความเสียหาย ลงได้

วิธีการจัดการศัตรูพืชดังกล่าวจะช่วยให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีในการกำจัด แมลงศัตรูพืชลงได้ถึง 50% เว้นแต่ถ้ามีการระบาดหนักของโรคพืช และแมลง ก็สามารถนำสารเคมีมาใช้ได้บ้างแต่จะต้องเลือกสารเคมีที่ปลอดภัยต่อผู้ปลูก และผู้บริโภคมาใช้ ช่วยให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพราะจะได้ไม่ต้องได้รับผลกระทบจากการ พ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่สำคัญคือ การปลูกผักด้วยวิธีดังกล่าวทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น จนกลายเป็นที่รู้จักของกลุ่มเกษตรกรแบบเรียกกันติดปากว่า “ปลูกผักแบบ สกว.” ซึ่งวิธีนี้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 4,000-5,000 บาทต่อเดือน ต่อการเพาะปลูกพืชผัก 1 ฤดู ต่อ 1 โรงเรือนขนาด 6 x 30 เมตร ซึ่งใน 1 ปี จะปลูกผักได้ 3-4 รุ่น ทำให้เกษตรกรมีรายได้สม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เป็นเพราะการนำผลงานการวิจัยมาประยุกต์ใช้ได้จริงและทำให้เกษตรกรมี รายได้และคุณภาพชีวิตเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการลดใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจึงส่งผลให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ด้วย

รศ.ดร.จริยา กล่าวเสริมว่า ภายหลังสิ้นสุดโครงการและประสบความสำเร็จกับโครงการระยะที่ 2 แล้วได้มีการต่อยอดโครงการไปอีก 3 จังหวัด ภายใต้ชื่อ โครงการผลิตผักคุณภาพ เพื่อส่งออก และถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรือนตาข่ายกันแมลงจังหวัด เชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา และจังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักออแกนิก ปลอดภัยในโรงเรือนตาข่ายกันแมลงตามพื้นที่เป้าหมาย และสร้างเกษตรกรผู้นำและขยายเครือข่ายการผลิตผักปลอดภัย โดยมีความเชื่อมโยงกับตลาด ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการใน 3 พื้นที่ ประกอบด้วย บ้านปังค่า อำเภอปง จังหวัดพะเยา บ้านผาตั้ง อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การดูแลของโครงการหลวง ปัจจุบันเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดการปลูกผักแบบ สกว. ได้ส่งผลผลิตจำหน่ายผ่านตลาดมูลนิธิโครงการหลวง และที่จังหวัดนครปฐม เป็นพื้นที่ที่เกษตรกรมีตลาดรับซื้อประจำอยู่แล้ว

รศ.ดร.จริยาให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า การปลูกผักให้ปลอดภัยในโรงเรือนตาข่ายกันแมลงมีปัจจัยที่สำคัญคือตลาด เนื่องจากการเลือกผักที่จะปลูกนั้นจะต้องดูถึงความต้องการของตลาดรวมทั้ง ความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ในการปลูกผักออแกนิก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ฟาร์มไฮโดรโพนิกส์


ฟาร์มไฮโดรโพนิกส์ ผักไร้ดินเมืองจันท์
หากเอ่ยถึงจังหวัด จันทบุรี คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามไม่ว่าจะเป็น น้ำตก ทะเล และภูเขา ขณะที่อีกส่วนหนึ่งมองไปที่ภาพ เกษตรกรชาวสวน และ ผลไม้นานาพันธุ์ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัด อาทิ เงาะ ทุเรียน มังคุด ฯลฯ ซึ่งการทำสวนผลไม้ถือเป็น อาชีพหลัก ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่นี่เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามบนพื้นที่ที่ถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์ใช่ว่าจะมีเพียงการทำสวนผล ไม้เท่านั้น โดยที่ “บางกะจะไฮโดรโพนิกส์ฟาร์ม” เลขที่ 65 หมู่ 4 ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี ติดกับวัดพลับ วัดโบราณแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเมืองจันท์ มีการทำ ฟาร์มผักไฮโดรโพนิกส์ (พืชไร้ดิน) แห่งแรกของที่นี่ ผู้บุกเบิกคือ นายวีระ นามพระจันทร์ หรือที่ชาวจันท์เรียกกันติดปากว่า “ปลัดวีระ”
ที่มาที่ไปการทำฟาร์มผักบนดินแดนที่ได้ชื่อว่าเมืองผลไม้ คุณวีระ เปิดเผยว่า ตนรับราชการมา 25 ปี เป็นปลัดอำเภอมาหลายแห่ง กระทั่งปี 45 เป็นปลัดจังหวัดจันทบุรี ขณะรับราชการได้ ช่วยเหลือ ชาวสวนเรื่องปัญหาผลไม้ราคาตกมาโดยตลอด [...]

อยากเชิญชวนมากินผักออแกนิกกันเยอะๆนะครับ

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เรื่องปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมี

เรื่องปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมี
จากกระแส ของการไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในภาคการเกษตร มีนัยสำคัญที่น่าสนใจและชวนให้ศึกษาลึกลงไปในรายละเอียด เนื่องจากมีการศึกษาและราย

ทำไม ต้อง...เกษตรอินทรีย์ ? จากกระแสของการไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในภาคการเกษตร มีนัยสำคัญที่น่าสนใจและชวนให้ศึกษาลึกลงไปในรายละเอียด เนื่องจากมีการศึกษาและรายงานผลการวิจัยออกมามากมาย ถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้สารเคมีในภาคการเกษตรของนักวิชาการจากทั่วโลก ซึ่งมีทั้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศน์ของห่วงโซ่อาหาร ผลเสียต่อสถานะการณ์ของโลกโดยเฉพาะการทำลายชั้นบรรยากาศ ผลกระทบทำให้โครงสร้างและคุณภาพของดินเปลี่ยนแปลง ตลอดจนผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคอันเกิดจากการปนเปื้อน หรือสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร ทั้งหมดที่กล่าวมา ได้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเกษตรของผู้บริโภค ตลอดจนผลักดันให้ปริมาณความต้องการสินค้าเกษตรที่ปลอดจากสารพิษตกค้างมีความ คุ้มค่าทางการตลาดและการลงทุนสำหรับเรื่อง “ เกษตรอินทรีย์ “ เกษตรอินทรีย์ คืออะไร ? สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ ( I.F.O.A.M. ) ได้ให้คำอธิบายถึงความหมายและคำจำกัดความไว้ว่า “ เกษตรอินทรีย์ เป็นระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เน้นที่หลักการปรับปรุงและบำรุงดิน ให้ความสำคัญต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศน์เกษตรกร ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติเพื่อการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคและศัตรูของพืชและสัตว์เลี้ยง “ ที่กล่าวมาในข้างต้น เป็นหลักสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพภูมิอากาศ และวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชน มีคำแนะนำที่แจกแจงเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ หลีกเลี่ยงหรืองดการใช้สารเคมี หรือ สารสังเคราะห์ใดๆในกระบวนการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี หรือ สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช รวมถึงการไม่ใช้พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่มีการตัดต่อหรือดัดแปลงพันธุกรรม เลี่ยงการสัมผัสโดยตรงหรือป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีตามร่างกาย ทั้งจากภายในครัวเรือนหรือจากภายนอก พัฒนาระบบการผลิตที่นำไปสู่แนวทางการเกษตรที่ยั่งยืน เน้นความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ในกระบวนการผลิตในระยะยาว พัฒนาระบบการผลิตที่เน้นการพึ่งพาตนเอง หรือการช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในกลุ่มเรื่องปัจจัยการผลิต เช่น การจัดหาวัสดุทำปุ๋ยบำรุงดิน การจัดการเรื่องโรคศัตรูพืช พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ แรงงาน และ เงินทุน เป็นต้น ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยอินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยพืชสดอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนจัดให้มีการหมุนเวียนธาตุอาหารในแปลงเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมให้มีการแพร่ขยายชนิดของสัตว์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในระบบนิเวศน์ เพื่อรักษา สมดุลของระบบนิเวศน์ในไร่นา ตลอดจนลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคและแมลง มีมนุษยธรรมในการเลี้ยงสัตว์ “ เกษตรอินทรีย์ “ มีประโยชน์อย่างไร ? ต้องมองย้อนกลับไปดูว่า สิ่งที่พืชต้องการใช้ในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต คือ ธาตุอาหารหลัก ซึ่งประกอบด้วย ไนโตรเจน ( Nitrogen : N ), ฟอสฟอรัส ( Phosphorus : P ) และ โปแตสเซียม ( Potasium : K ) สำหรับการพัฒนาระบบราก ลำต้น ใบ ดอก และผล ธาตุอาหารรอง ซึ่งประกอบด้วย แคลเซียม ( Calsium : Ca ), แมกนีเซียม ( Magnesium : Mg ) และ กำมะถัน ( Sulphur : S ) สำหรับการพัฒนาสีสรร รส และกลิ่นหอม ธาตุอาหารเสริม ซึ่งประกอบด้วย เหล็ก ( Ferrus : Fe ), มังกานีส ( Manganese : Mn ), สังกะสี ( Zinc : Zn ),ทองแดง ( Cupper : Cu ), บอรอน ( Boron : Bo ), โมลิบนัม ( Molibnum : Mo ), และ คลอริน ( Chlorine : Cl ) สำหรับเสริมสร้างความแข็งแรงและภูมิต้านทานโรค ในขณะเดียวกัน ดิน ซึ่งเป็นวัตถุธาตุที่เกิดขึ้นเองเป็นชั้นๆตามธรรมชาติ จากแร่ธาตุต่างๆที่สลายตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ผสมรวมกับอินทรีย์วัตถุที่เน่าเปื่อยผุและย่อยสลายรวมกันเป็นชั้นบางๆห่อ หุ้มผิวโลก และเมื่อมีอากาศและน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยทำให้พืชมีการก่อกำเนิดและเจริญเติบโต องค์ประกอบของดินที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของพืชที่ดี อนุมาณได้ ดังนี้ อนินทรีย์วัตถุ ซึ่งจะมีอยู่ร้อยละ 45 โดยปริมาตร ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนที่สลายตัวทางเคมี ฟิสิกส์ และทางชีวเคมีของแร่และหินชนิดต่างๆ ประโยชน์หลักคือเป็นธาตุอาหารของพืช อินทรีย์วัตถุ ซึ่งจะมีอยู่ร้อยละ 5 โดยปริมาตร ส่วนใหญ่จะเป็นชิ้นส่วนที่ได้จากการเน่าเปื่อยของเศษซากพืชซากสัตว์ที่ผุพัง ทับถมกันอยู่ในดิน ประโยชน์หลักคือเป็นตัวเชื่อมประสานอนินทรีย์วัตถุให้จับตัวกัน รวมทั้งดูดซับและรักษาระดับความชื้นในดินเอาไว้ น้ำ หรือ ความชื้น ซึ่งจะมีอยู่ร้อยละ 25 โดยปริมาตร ส่วนหนึ่งจะแทรกตัวอยู่ตามช่องว่างของก้อนดิน ( เยื่อน้ำ ) อีกส่วนหนึ่งจะซับอยู่ในอนุภาคของดิน อากาศ ซึ่งจะมีอยู่ร้อยละ 25 โดยปริมาตร ส่วนใหญ่เป็น ก๊าซออกซิเจน, ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ประโยชน์หลักคือช่วยเร่งกระบวนการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ โดยการทำงานของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตหน่วยที่เล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่เป็นพวกเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น ประโยชน์หลักคือช่วยย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์ให้เป็นอินทรีย์วัตถุ พร้อมกับปลดปล่อยแอมโมเนียม, ไนเตรท, และซัลเฟต ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของพืช ดังนั้น สรุปในใจความสำคัญได้ว่า “ ดินที่ดีที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืช คือ ดินที่มีธาตุอาหารครบตามที่พืชต้องการ มีอินทรีย์วัตถุ มีความชื้นในดินที่เหมาะสม สภาพดินร่วน โปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้ดี “ ซึ่งเกษตรอินทรีย์สามารถปรับสภาพทำให้ดินเกิดสภาพดังที่กล่าวมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญของการคืนสภาพดังกล่าวให้กับดิน คือ “ ปุ๋ยอินทรีย์ “ ปุ๋ยอินทรีย์ กับ ปุ๋ยเคมี แตกต่างกันอย่างไร ? ปุ๋ยเคมี หรือ ปุ๋ยสังเคราะห์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นมาจากสารอนินทรีย์ต่างๆที่เป็นธาตุอาหาร หลักที่พืชต้องการ ซึ่งในที่นี้ก็คือธาตุอาหาร N – P – K โดยจะมีกรรมวิธีและกระบวนการผลิตที่จะปรุงแต่งสัดส่วนของธาตุอาหารหลักแต่ละ ตัวไปตามความชนิดและช่วงอายุของพืช ทั่วไปจะเรียกกันว่า “ สูตรปุ๋ย ” ซึ่งความหมายของสูตรปุ๋ยจะหมายถึงสัดส่วนของธาตุอาหารหลักแต่ละตัวที่มีอยู่ ในเนื้อปุ๋ยรวมทั้งสิ้น 100 ส่วน ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 ให้คำอธิบายได้ว่า ในเนื้อปุ๋ย 100 ส่วนจะมี ไนโตรเจน ( N ) อยู่ 15 ส่วน, ฟอสฟอรัส ( P ) อยู่ 15 ส่วน และมี โปแตสเซียม ( K ) อยู่ 15 ส่วน รวมเป็น 45 ส่วน และอีก 55 ส่วนที่เหลือจะเป็นสารเติมแต่งอื่นๆ ซึ่งในที่นี้คือ ดินขาว หรือ สูตร 16 – 8 – 8 จะหมายถึงว่ามีเนื้อปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารรวมแล้วเพียง 32 ส่วน ที่เหลือก็จะเป็นดินขาว ดังนั้น อาจกล่าวโดยรวมได้ว่าอย่างน้อย 40 ส่วนใน 100 ส่วนของปุ๋ยเคมีจะเป็นดินขาว เพราะดินขาวจะมีส่วนช่วยในการปั้นเม็ดให้กลมสวย ทำให้เม็ดปุ๋ยมีความแข็งไม่แตกร่วนในขณะเก็บไว้นานๆ รวมถึงช่วยเหนี่ยวรั้งไนโตรเจน ( N ) ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักตัวหนึ่งในเนื้อปุ๋ย ไม่ให้สลายตัวไปกับอากาศเร็วเกินไป แต่ดินขาวเองไม่เป็นประโยชน์ต่อต้นพืช ในขณะที่ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือ หากจะให้นึกภาพได้ชัดเจนก็คือ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ เศษซากพืชซากสัตว์ เศษผลผลิตเหลือใช้จากการเกษตรและวัชพืช ที่ผ่านการหมักให้เน่าเปื่อยผุพังอยู่ช่วงเวลาหนึ่งจนสลายตัวกลายเป็น อินทรีย์วัตถุ ธาตุอาหารที่พืชจะได้รับจากปุ๋ยอินทรีย์ มาจากแร่ธาตุต่างๆที่มีอยู่ในมูลสัตว์ เศษซากพืชซากสัตว์ เศษผลผลิตเหลือใช้จากการเกษตรหรือวัชพืช ซึ่งจะมีธาตุอาหารสำหรับพืชอยู่ครบทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะเพียงธาตุอาหารหลักเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ธาตุอาหารที่ได้จากปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถกำหนดเป็นสูตรอาหารที่ชัดเจนและแน่ นอนได้ ทั้งนี้เพราะสัดส่วนของธาตุอาหารที่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นปุ๋ยอะไรและได้จาก อะไร เท่าที่มีการตรวจสอบคุณค่าทางอาหารของปุ๋ยอินทรีย์โดยกองเกษตรเคมี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เคยวัดค่า N – P – K ได้สูงสุดไม่เกิน 6 – 10 – 2 เท่านั้น แล้วปุ๋ยเคมี ไม่ดีตรงไหน ? สิ่งที่พืชต้องการมากที่สุดในการเจริญเติบโต ก็คือธาตุอาหารทุกๆกลุ่มอย่างเพียงพอ เพื่อที่จะผลิตออกมาเป็นดอกเป็นผลให้กับเกษตรกรผู้ปลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธาตุอาหารหลักหรือ N – P – K ปุ๋ยเคมีเองก็สามารถให้ธาตุอาหารหลักที่เป็นประโยชน์แก่พืชได้มากเท่าที่พืช ต้องการ สิ่งนี้เป็นส่วนที่ดีของปุ๋ยเคมี แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว ธาตุอาหารหลักไม่ได้เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ในปุ๋ยเคมี ในทางกลับกัน ปุ๋ยเคมีแต่ละสูตรที่ใช้กันในภาคการเกษตรมีสัดส่วนของธาตุอาหารหลักทุกตัว รวมกันแล้วไม่เกินร้อยละ 50 ( ชี้แจงไว้แล้วในข้างต้น ) ส่วนที่เหลือเป็นดินขาว ( Clay ) ซึ่งเป็นสารเติมแต่งทั้งหมด และดินขาวนี้เองที่เป็นข้อเสียของปุ๋ยเคมี เพราะดินขาวซึ่งเป็นอนุภาคขนาดเล็กจะแทรกตัวไปอัดแน่นอยู่ในช่องว่างของดิน เมื่อดินขาวได้รับหรือดูดความชื้นจากดิน ก็จะเปลี่ยนไปมีสภาพคล้ายน้ำแป้งและยึดเกาะเม็ดดินให้จับตัวกันแน่นขึ้น พร้อมกับขับไล่อากาศที่มีอยู่ในดินออกไปจนหมดหรือเหลืออยู่น้อยมาก ดังนั้น แปลงเกษตรที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันมาโดยตลอด ดินจะมีการเปลี่ยนสภาพเป็นแข็งกระด้าง ระบบรากและลำต้นของพืชไม่แข็งแรง เพาะปลูกไม่ได้ผลผลิตที่ดี

เกษตรปราณีต วิถีแห่งความพอเพียง

จากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2540 ทำให้เกิดภาวะหนี้สินขึ้นทั่วทุกพื้นที่ โดยเฉพาะ...




จากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2540 ทำให้เกิดภาวะหนี้สินขึ้นทั่วทุกพื้นที่ โดยเฉพาะที่ภาคอีสาน เมื่อก่อนหนุ่มสาวต่างจังหวัดที่เดิน ทางเข้าไปทำงานในกรุงเทพ แต่เมื่อเจอวิกฤติภาวะเศรษฐกิจ โรงงานหลายที่ปิดกิจการ ลดปริมาณพนักงานลง ทำให้หลายคนตกงาน โดนเลิกจ้าง ต้องเดินทางกลับบ้านเกิดเหมือนเดิม

จากเหตุการณ์นี้เองทำให้กลุ่มคนที่ชาวบ้านยกย่องให้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ได้รวมกลุ่มและจัดตั้งขึ้นเป็นเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน และพหุภาคีภาคอีสาน โดยได้พยายามศึกษารูปแบบการทำเกษตรกรรมที่ไม่ได้ยกเอาเงินเป็นตัวตั้งในระบบ การผลิต แต่ยกเอา "ความสุข" ขึ้นมาแทนด้วยการทำเกษตรกรรมแบบผสมผสานที่พึ่งตัวเอง ทำการออมน้ำ ออมสัตว์ และออมต้นไม้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

ด้วยแนวคิดดังกล่าวจึงทำให้เกิดโครงการวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมอย่างประณีต 1 ไร่ เพื่อนำไปสู่การมีอยู่ มีกิน และปลดหนี้สิน ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยโครงการดังกล่าวจะเน้นการนำเอาองค์ความรู้ในการทำเกษตรผสมผสานของปราชญ์ ชาวบ้านมาออกแบบการทำเกษตรกรรมอย่างประณีต ที่จะต้องมีการศึกษาทั้งปริมาณและชนิดของพืช ที่จะใช้ปลูกรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องสามารถใช้ได้จริง

และหลังจากที่ได้ทดลองมาระยะหนึ่ง ทีมงานวิจัยที่ประกอบด้วย พ่อมหาอยู่ สุนทรชัย ปราชย์ชาวบ้านจากจังหวัดสุรินทร์ พ่อผาย สร้อยสระกลาง จากจังหวัดบุรีรัมย์ พ่อสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์,พ่อคำเดื่อง ภาษี,พ่อทัศน์ กระยอม และปราชญ์ชาวบ้านในภาคอีสานกว่า 20 คน ก็ได้สรุปว่าบนที่ดิน 1 ไร่ ต้องทำอย่างน้อย 8 อย่าง อาทิ ปลูกข้าว,ปลูกผัก,เลี้ยงสัตว์จำพวกปลา หมู หรือไก่ เป็นต้น

ซึ่งตามแนวคิดของพ่อมหานั้นการเกษตรปราณีต 1 ไร่ คือการปลูกด้วยฝีมือ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีความมั่นคงต่อผู้ผลิต เป็นสวนอาหารของครอบครัวที่อุดมสมบูรณ์และมีคุณภาพ มีความสุขบนตัวชี้วัดที่ตัวเองสร้างขึ้น และมีความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมของโลก โดยพ่อคำเดื่อง ภาษี ยังได้เพิ่มเติมอีกว่า การทำเกษตรปราณีตคือการเปลี่ยนวิธีคิดของเกษตรกร

"แม้แต่การคิดว่า 1 ไร่ มี 1,600 ตารางเมตรยังหยาบเกินไป อาจจะต้องคิดเป็นตารางฟุต ตารางนิ้ว หรือตารางเซนติเมตรไปเลย เป็นการท้าทายให้ไม่คิดเฉพาะบนดินแต่ใต้ดินก็สามารถปลูกพืชได้ เช่น ปลูกมันเทศไว้ในดิน เหนือดินขึ้นไป 2 ชั้น 3 ชั้น ก็มีต้นไม้ มีสัตว์ ...และถ้าเราคิดให้พื้นที่ 1 ไร่ เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเส้นรอบแปลง 4 ด้านเท่ากับ 160 เมตร หรือ 160,000 เซนติเมตร จะมีชะอมโดยรอบ 500 กว่าต้น เก็บเกี่ยวแต่ละรอบก็เหลือกินมากและถ้าเหลือก็ขายวันละบาท จะมีเงินวันละ 500 บาท …นี่เฉพาะรั้ว ยังไม่นับพื้นที่ว่างในการปลูกผักผลไม้ ไม้ใช้สอย เพาะเห็ด เลี้ยงสัตว์นานาชนิดได้อีกมาก" พ่อคำเดื่องกล่าว

ดังนั้นหากจะนิยามความหมายของคำว่า "เกษตรปราณีต" คือการทำเกษตรแบบเข้าใจธรรมชาติ เป็นการเกษตรในพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ ที่สามารถปลูกพืชในครัวเรือนไว้กินไว้ใช้อย่างครบถ้วน โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ ในกระบวนการปลูก หากเหลือกินก็สามารถนำมาขายได้ นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงปลาหรือเลี้ยงไก่ก็ได้ และถ้าหากมีพื้นที่มากกว่า 1 ไร่ ก็สามารถขยายออกไปได้ ซึ่งเป็นการทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ใช่การลงทุนใหญ่ครั้งเดียวที่จะมีความเสี่ยงมากกว่า

และนี่ก็คือการทำการเกษตรแบบพอเพียง ที่น่าจะเหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในยุคน้ำมันแพงแบบนี้

ตลาดนัด เกษตรปลอดพิษ ผักออแกนิก ผักไฮโดโปนิก

ตลาดนัดเกษตรปลอดพิษอาหารปลอดภัย จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคพบปะพูดคุย...

-ผักอินทรีย์ ผักพื้นบ้าน ผักปลอดสารพิษ
-ผลไม้ปลอดสารพิษ
-เนื้อสัตว์ ไข่ ปลอดภัย พันธุ์พืชพื้นเมือง
-อาหารปลอดภัย อาหารสุขภาพ
-การตรวจสอบสารเคมีตกค้างพืชผัก
-ผักออแกนิก ผักไฮโดโปนิก
-ความรู้ใหม่ๆ มากมาย

เวลาที่ให้บริการ
-ทุกๆ วันพุธ เวลา 7.00-18.00 น.
-ทุกๆ วันเสาร์ เวลา 7.00-13.00 น.

ตลาดนัดเกษตรปลอดพิษอาหารปลอดภัย จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคพบปะพูดคุยกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเกษตรกรและผู้บรริโภคในด้านการผลิต และความต้องการของผู้บริโภค โดยเกษตรกรได้มีโอกาสเรียนรู้ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยตรง เพื่อที่เกษตรกรจะได้นำข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเหล่านั้นไปปรับปรุงการผลิต และวางแผนการผลิตได้ตรงกับผู้บริโภค ส่วนผู้บริโภคจะได้รับทราบถึงปัญหาและอุสรรคของเกษตรกรและขีดความสามารถของ การผลิตสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ และยังเป็นส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายผู้ผลิตและผู้บริโภค ในอันที่จะติดต่อซื้อขากันและแลกเปลี่ยนข้อมูล

ขยายจุดจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ ไปยังโรงอาหาร และหน่วยงานราชการในสถานที่และเวลาที่แน่นอน โดยมีจุดจำหน่ายผักปลอดสารพิษทั้งหมด 6 จุด โดยจำหน่ายในเวลา 10.00 -14.00 น. ในโรงอาหารคณะแพทย์ศาสตร์ และจำหน่วยในเวลา 11.30 - 13.30 น. สำหรับสถานที่อื่นๆ

1. เลือกซื้อสินค้าจากเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรปลอดพิษ
-ผักอินทรีย์ ผักพื้นบ้าน ผักปลอดสารพิษ
-ผลไม้ปลอดสารพิษ
-เนื้อสัตว์ ไข่ ปลอดภัย สดตรงจากฟาร์ม
-กล้าผัก กิ่งพันธุ์ไม้ผล พันธุ์พืชพื้นเมือง

2. เลือกซื้อสินค้าจากผู้ผลิตอาหารปลอดภัย
-อาหารปลอดภัย
-อาหารเพื่อสุขภาพ

3. สาธิตการทำอาหารพื้นเมือง

4. สาธิตการทำอาหารพื้นเมือง พร้อมเลือกซื้อชุดอาหารพร้อมปรุง

5. ตรวจสอบสารเคมีตกค้างพืชผัก
-สาธิตการตรวจสอบสารเคมีตกค้างในผัก

6. ความรู้ใหม่ ด้านสุขภาพ กับอาหาร

การปลูก ผักออแกนิก โดยระบบ ไฮโดรโปนิก

การปลูก ผักออแกนิก โดยระบบ ไฮโดรโปนิก

" การปลูกพืชไร้ดิน" หรือ " การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน "หรือ ผักออแกนิค หมายถึง การปลูกพืชเลียนแบบการปลูกพืชบนดิน โดยการใช้วัสดุปลูกต่าง ๆ ในการปลูกเช่น น้ำ ทราย กรวด ดินเผา หรือวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ดิน ซึ่งพืชจะสามารเจริญเติบโต บนวัสดุปลูกได้จากการได้รับสารละลายธาตุอาหารพืชที่มีน้ำผสมกับปุ๋ย หรือ ธาตุอาหารต่างๆ ที่พืชต้องการทางรากพืช

ระบบปลูกพืชไร้ดินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันนี้ก็คือ ระบบการปลูกพืชที่ใช้น้ำเป็นวัสดุปลูกโดยให้สารละลายธาตุอาหาร

( น้ำผสมกับปุ๋ย ที่มีธาตุอาหารที่พืชต้องการ ) ผ่านทางรากพืชโดยตรงซึ่งระบบนี้เราคุ้นเคยกันดีในชื่อว่า "ระบบไฮโดรโปนิก "นั่นเอง

ข้อดีของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หรือ พืชออแกนิกส์
1.สารมารถทำการเพาะปลูกพืชได้ทุกสภาวะ ไม่ว่าจะเป็นในที่ที่ดินดีหรือไม่ดี หรือสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะต่อการเพาะปลูกเราก็สามารถใช้วิธีไฮโดรโปนิกนี้ได้

2.ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงกว่า ร่นระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว ทำการผลิตได้สม่ำเสมอและต่อเนื่อง

3.สามารถปลูกพืชเชิงธุรกิจได้หลากหลายชนิด

4.ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับศัตรูพืชที่เกิดจากดิน จึงไม่ต้องใช้สารพิษเพื่อกำจัดแมลง เป็นระบบปลูกพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

5.ให้ผลผลิตที่สดสะอาด ปราศจากสารพิษทั้งจากดินและย่าฆ่าแมลง จึงบริโภคได้อย่างมั่นใจ

6.ผลผลิตได้ปริมาณ คุณภาพและราคาดีกว่าปลูกบนดินมากเพราะสมารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชได้ดีกว่า

7.อัตราการใช้แรงงาน เวลาในการปลูก และค่าใช้จ่ายต่ำกว่า

8.ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเตรียมดินและกำจัดวัชพืชก่อนการปลูก

9.ใช้น้ำและธาตุอาหารได้อย่างประหยัด คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ เช่น ใช้น้ำลดลงถึง10 เท่าตัวของการปลูกแบบธรรมดา

10. ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสารป้องกันและจำกัดแมลงได้ 100%

11.ประหยัดค่าขนส่ง เพราะสามารถเลือกพื้นที่ที่จะปลูกใกล้กับแหล่งรับซื้อได้ เนื่องจากใช้พื้นที่ในการปลูกไม่มาก

12. มีวิธีการปลูกและการดูแลรักษาง่าย ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หรือแม้แต่คนพิการก็สามารถทำได้เป็นกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว และทางเลือกในการเพิ่มอาชีพให้แก่ผู้ด้อยโอกาส เช่น คนพิการอีกด้วย
การปลูกผักออแกนิก โดยวิธี ไฮโดรโปนิก เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากในปัจจุบันและกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย